กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์
(เจ้าฟ้ากุ้ง)
(เจ้าฟ้ากุ้ง)
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด
ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2
เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์มี
๒ ตอน
ตอนที่
1 ชมพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต “พระเสด็จโดยแดนชล
ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย” ต่อจากชมกระบวนเรือ ว่าด้วยชมปลา ชมไม้ ชมนก
เป็นลักษณะนิราศ กาพย์เห่เรือเรื่องนี้เห็นได้ในสำนวนว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงนิพนธ์สำหรับเห่เรือของท่านเอง
เวลาตามเสด็จขึ้นพระพุทธบาท ออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุทธยาแต่เช้า พอตกเย็นก็ถึงท่าเจ้าสนุก
ตอนที่ 1 กล่าวชมเรือกระบวน ชมปลา ชมไม้ ชมนก และแทรกบทครำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ตอนที่
2 คำสังวาส เอาเรื่องพระยาครุฑลักนางกากีมาทำบทขึ้นต้นว่า
“กางกรโอบอุ้มแก้ว เจ้างามแพร้วสบสรรพพางค์”
แล้วว่าต่อไปเป็นกระบวนสังวาสจนจบ บทที่ 2 เป็นบทเห่เรียกว่า เห่กากี
เป็นบทคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักเพียงอย่างเดียว
อ้างอิงจาก