วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดหมวดหมู่หนังสือภายในห้องสมุด ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมวดหมู่หนังสือ ระบบทศนิยมดิวอี้
ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C
เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกันชื่อ เมลวิล ดิวอี้

          หมวดหมู่ย่อย
          การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ


          หมวดใหญ่
          การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ ๆ 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์

         หมวดย่อย       
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 2 แบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย ดังนี้


         หมวด 000
          000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป
          010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก
          020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
          030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
          040 ยังไม่กำหนดใช้
          050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี
          060 องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา
          070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ การพิมพ์
          080 ชุมนุมนิพนธ์
          090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก
          หมวด 100
          100 ปรัชญา
          110 อภิปรัชญา
          120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์
          130 จิตวิทยานามธรรม
          140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
          150 จิตวิทยา
          160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา
          170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม
          180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก
          190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

         หมวด 200
          200 ศาสนา
          210 ศาสนาธรรมชาติ
          220 ไบเบิล
          230 เทววิทยาตามแนวคริสต์ศาสนา
          240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา
          250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ
          260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา
          270 ประวัติคริสต์ศาสนา
          280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา
          290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ

         หมวด 300
          300 สังคมศาสตร์
          310 สถิติศาสตร์
          320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง
          330 เศรษฐศาสตร์
          340 กฎหมาย
          350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร
          360 การบริการสังคม และสมาคม
          370 การศึกษา
          380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง
          390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา


          หมวด 400
          400 ภาษา
          410 ภาษาศาสตร์
          420 ภาษาอังกฤษ
          430 ภาษาเยอรมัน
          440 ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
          450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
          460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
          470 ภาษาละติน
          480 ภาษากรีก
          490 ภาษาอื่นๆ 
         
         หมวด 500
          500 วิทยาศาสตร์
          510 คณิตศาสตร์
          520 ดาราศาสตร์
          530 ฟิสิกส์
          540 เคมี
          550 วิทยาศาสตร์โลก
          560 บรรพชีวินวิทยา
          570 ชีววิทยา
          580 พฤกษศาสตร์
          590 สัตววิทยา

         หมวด 600
          600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
          610 แพทยศาสตร์
          620 วิศวกรรมศาสตร์
          630 เกษตรศาสตร์
          640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว
          650 การจัดการธุรกิจ
          660 วิศวกรรมเคมี
          670 โรงงานอุตสาหกรรม
          680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร
          690 การก่อสร้าง


          หมวด 700
          700 ศิลปกรรม การบันเทิง
          710 ภูมิสถาปัตย์
          720 สถาปัตยกรรม
          730 ประติมากรรม
          740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์
          750 จิตรกรรม ภาพเขียน
          760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก
          770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย
          780 ดนตรี
          790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา

         หมวด 800
          800 วรรณกรรม วรรณคดี
          810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ
          820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ
          830 วรรณคดีภาษาเยอรมัน
          840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
          850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
          860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
          870 วรรณคดีภาษาละติน
          880 วรรณคดีภาษากรีก
          890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ

         หมวด 900
          900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
          910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว
          920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
          930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
          940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก
          950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก
          960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา
          970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
          980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
          990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก



การบริการทั่วไปของห้องสมุด

 การบริการทั่วไปของห้องสมุด
 งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์และบุคลากรรวมถึงบุคคลทั่วไปมาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
 1. บริการอ่าน โดยจัดหาหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ให้เพียงพอกับความต้องการเพื่อการอ่านทั่วไป
 2. บริการยืม - คืน  (Circulation Services) ให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศทั้งสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 น. - 16.00 น. ในวันจันทร์ – ศุกร์ ตามระเบียบของห้องสมุด
 3. บริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ให้บริการวารสารและหนังสือ ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา
 4. บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับค้นคว้าหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Internet) และพิมพ์งาน (Print)
 5. บริการรายชื่อหนังสือใหม่ มีการรวบรวมรายชื่อหนังสือใหม่แจ้งในข่าวสารห้องสมุด
 6. บริการถ่ายเอกสาร (Photocopying Services) เป็นบริการถ่ายสำเนาสิ่งพิมพ์ต่างๆตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยเสียค่าบริการตามที่ห้องสมุดกำหนด
 7. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด (Library Instructional Services)
 8. บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า (Reference and Information Services) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การให้บริการโดยตรง ได้แก่ ตอบคำถามทั่วไปในทันทีที่ถาม และบริการทางอ้อม คือ ช่วยค้นหาหนังสือ หรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งมีคำตอบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
 9. บริการหนังสือจอง หรือหนังสือสำรอง (Reserve Book Services) หนังสือจองหรือหนังสือสำรอง คือ หนังสือที่มีผู้ต้องการใช้มากแต่หนังสือมีน้อย หรือหนังสือที่อาจารย์ประจำวิชานั้นต้องการให้นักเรียนทุกคนได้อ่าน ห้องสมุดจึงนำหนังสือเหล่านั้นแยกไว้ต่างหาก ได้จัดไว้เป็นหนังสือจอง กำหนดเวลาการยืมหนังสือให้สั้นกว่าปกติ  เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคน มีโอกาสยืมหนังสือไปศึกษาค้นคว้าได้

 10. บริการห้องสมุดมัลติมีเดีย จัดหาและให้บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น VDO CD ROM ฯลฯ ทางด้านวิชาการที่สอดคล้องกับหลักสูตรทุก สาระการเรียนรู้ 

คู่มือการใช้บริการห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี (2)

การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
ใช้รูปถ่ายครึ่งตัว ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป เขียนชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวนักเรียนไว้ด้านหลังรูป 


วิธียืม - คืนหนังสือ
1. สมาชิกเข้าแถวตามลำดับการมาก่อน-หลัง
2. ยื่นบัตรห้องสมุด หรือบอกเลขที่สมาชิกกับทางบรรณารักษ์ (หมายเหตุ สมาชิกสามารถยืมหนังสือได้ทุกประเภท ยกเว้น หนังสืออ้างอิง)
3. วิธีคืนหนังสือ ให้นักเรียนนำหนังสือที่ต้องการคืนมาให้แก่ทางบรรณารักษ์


ระเบียบการยืม - คืน
1. นักเรียนต้องใช้บัตรสมาชิกห้องสมุดในการยืม - คืน หนังสือ และยืมด้วยบัตรของตนเองทุกครั้ง
2. หนังสือที่ให้ยืม ได้แก่ หนังสือทั่วไป หนังสือคู่มือ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน
3. วารสาร หนังสือพิมพ์ ยืมได้เฉพาะฉบับล่วงเวลา เพื่อนำไปถ่ายเอกสาร ครั้งละไม่เกิน 2 ฉบับ
4. หนังสืออ้างอิง ห้ามยืมออกนอกห้องสมุด กรณีที่จะนำไปถ่ายเอกสารต้องติดต่อบรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดก่อน ยืมได้ครั้งละ 1 เล่ม และส่งคืนภายในวันที่ยืมก่อนห้องสมุดปิดทำการ
5. นักเรียนจะต้องส่งทรัพยากรสารสนเทศคืนตามกำหนดส่ง ถ้าส่งหนังสือหรือวารสาร หนังสือพิมพ์ช้ากว่ากำหนด ต้องเสียค่าปรับวันละ 5 บาท/ต่อเล่มหรือฉบับ
6. สมาชิกที่ต้องการยืมหนังสือต่อ ให้นำหนังสือมาคืนก่อน แล้วยืมต่อได้ไม่เกิน 3ครั้ง/เล่ม
7. ผู้ที่ทำหนังสือชำรุดหรือสูญหายปรับ 2 เท่าของราคาหนังสือ และซื้อมาคืนห้องสมุด ภายใน  7 วัน
8. ผู้ที่ไม่คืนหนังสือจะมีใบทวงแจ้งครูที่ปรึกษา และถ้ายังไม่ได้รับการติดต่อกลับจะไม่มีสิทธิ์ยืมหนังสือได้อีกจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ
9. ผู้ที่นำหนังสือออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องซื้อหนังสือชดใช้ 2 เท่าของราคาหนังสือ และถูกตัดสิทธิ์การใช้ห้องสมุด โดยการพิจารณาของครูบรรณารักษ์
10. ผู้ที่ตัด ฉีกภาพหรือข้อความจากหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จะได้รับโทษตามระเบียบ


คู่มือการใช้บริการห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี (1)

ที่ตั้ง
 ห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 2 ชั้น 2 เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั้งวิชาสามัญและศิลปะ ตลอดทั้งความรู้ทั่วไป เพื่อใช้ประกอบการศึกษา การเรียนการสอนให้ได้ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและช่วยให้ใช้เวลาว่างให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น

ระเบียบห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
           ระเบียบของห้องสมุด หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากรห้องสมุด ป้องกันการชำรุด สูญหายรวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดปฏิบัติ อย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสม่ำเสมอ ระเบียบของห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
มีข้อกำหนด ดังนี้

           เวลาทำการ
 เปิดบริการ      วันจันทร์ - วันศุกร์   เวลา 07.30 - 16.00 น. ปิดวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

           ผู้มีสิทธิ์ใช้บริการห้องสมุด
 1. นักเรียน/นักศึกษา                    ยืมได้ 3 เล่ม / 7 วัน
 2. คณะครูอาจารย์และบุคลากร        ยืมได้ 5 เล่ม / 1 เดือน

 3. บุคคลภายนอกสามารถเข้าใช้บริการห้องสมุดได้ แต่ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

มารยาทในการใช้ห้องสมุด
 มารยาทในการใช้ห้องสมุด หมายถึง ข้อตกลงที่ผู้ใช้ห้องสมุดควรปฏิบัติตามเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องสมุด การใช้สาธารณสมบัติร่วมกันในห้องสมุด ผู้ใช้ควรมีสำนึกที่จะช่วยกันรักษาทั้งทรัพย์สิน และสร้างบรรยากาศที่ดี ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และให้เกียรติสถานที่ด้วย ผู้มีมารยาทและคุณธรรมพึงปฏิบัติตน ดังนี้
 1. ผู้ใช้ห้องสมุดต้องลงชื่อก่อนเข้าห้องสมุดทุกครั้ง
 2. นักเรียนต้องวางรองเท้าและกระเป๋าไว้หน้าห้องสมุด 
 3. ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มหรือของขบเคี้ยวทุกชนิด เข้าไปในห้องสมุด
 4. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้วางไว้ที่ จุดพักหนังสือ กรณีที่เป็นหนังสือพิมพ์ ให้เก็บไว้ที่ที่แขวนหนังสือพิมพ์ ส่วนวารสารให้นำไปเก็บที่ชั้นวางวารสารตามชื่อวารสาร
 5. ช่วยกันรักษาหนังสือและวัสดุต่างๆ ห้ามขีดเขียน ทำลาย ทรัพยากรของห้องสมุดทุกชนิด
 6. เมื่อลุกจากที่นั่งอ่านหนังสือ เก็บเก้าอี้เข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้ง
 7. ให้ตรวจหนังสือก่อนออกจากห้องสมุดทุกครั้ง
 8. ผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

บริการคอมพิวเตอร์สำหรับค้นหาข้อมูลความรู้ต่างๆ


บริการห้องสมุดมัลติมีเดีย



ก่อนเข้าใช้บริการจากห้องสมุด ต้องลงชื่อทุกครั้งนะคะเด็กๆ


นักเรียนบรรณารักษ์อาสา ช่วยกันจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น


น้ำใจจากนักเรียนที่ช่วยกันทำความสะอาดห้องสมุด






เลี้ยงขอบใจนักเรียนที่มีน้ำใจช่วยเหลือในการขนย้ายหนังสือและครุภัณฑ์ (เนื่องจากห้องสมุดได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมด)