วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี: รับสมัคร เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ด่วน!!!

ห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี: รับสมัคร เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ด่วน!!!: วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี  รับสมัคร เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 ตำแหน่ง   วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษ์ฯ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่บัด...

รับสมัคร เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ด่วน!!!

วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี 

รับสมัคร เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 ตำแหน่ง 

วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษ์ฯ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

ตั้งแต่บัดนี้ - 31 มีนาคม 2557 

>>>รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากไฟล์ที่แนบมานะคะ<<< 





วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มารยาทในการใช้ห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี

ระเบียบของห้องสมุด หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากรห้องสมุด ป้องกันการชำรุด สูญหายรวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดปฏิบัติ อย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสม่ำเสมอ

มารยาทในการใช้ห้องสมุด
1. นักเรียน นักศึกษา ต้องลงชื่อก่อนเข้าใช้บริการห้องสมุดทุกครั้ง

2. นักเรียน นักศึกษา ต้องวางกระเป๋าไว้หน้าห้องสมุดให้เป็นระเบียบ

3. นักเรียน นักศึกษา ต้องแต่งกายและปฏิบัติตนให้สุภาพเรียบร้อย

4. ห้ามนำอาหาร, เครื่องดื่ม หรือของขบเคี้ยวทุกชนิดเข้ามาในห้องสมุดอย่างเด็ดขาด

5. ห้ามส่งเสียงดัง ห้ามพูดคำหยาบ หรือกระทำการใดๆ รบกวนผู้อื่น

6. ห้ามขีด เขียน ฉีก ตัด ทำลาย ทรัพยากรทุกชนิดของห้องสมุด

7. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้ว ให้วางไว้ที่ จุดพักหนังสือ กรณีที่เป็นหนังสือพิมพ์ ให้เก็บไว้ที่  ที่แขวนหนังสือพิมพ์ ส่วนวารสารให้นำไปเก็บที่ชั้นวางวารสารตามชื่อวารสาร

8. ห้ามเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ในคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

9.  ไม่เคลื่อนย้ายโต๊ะเก้าอี้ และเมื่อลุกจากที่นั่งให้เก็บเก้าอี้เข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้ง

10.  นักเรียนนักศึกษาต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของครูบรรณารักษ์  อย่างเคร่งครัด


เข้าแถวลงชื่อเข้าห้องสมุดอย่างเรียบร้อย

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) || หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน


กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ 
(เจ้าฟ้ากุ้ง)
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์มี ๒ ตอน
ตอนที่ 1 ชมพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉายต่อจากชมกระบวนเรือ ว่าด้วยชมปลา ชมไม้ ชมนก เป็นลักษณะนิราศ กาพย์เห่เรือเรื่องนี้เห็นได้ในสำนวนว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงนิพนธ์สำหรับเห่เรือของท่านเอง เวลาตามเสด็จขึ้นพระพุทธบาท ออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุทธยาแต่เช้า พอตกเย็นก็ถึงท่าเจ้าสนุก ตอนที่ 1 กล่าวชมเรือกระบวน ชมปลา ชมไม้ ชมนก และแทรกบทครำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ตอนที่ 2 คำสังวาส เอาเรื่องพระยาครุฑลักนางกากีมาทำบทขึ้นต้นว่า กางกรโอบอุ้มแก้ว เจ้างามแพร้วสบสรรพพางค์แล้วว่าต่อไปเป็นกระบวนสังวาสจนจบ บทที่ 2 เป็นบทเห่เรียกว่า     เห่กากี เป็นบทคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักเพียงอย่างเดียว

อ้างอิงจาก

พระราชพิธีสิบสองเดือน || หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน


พระราชพิธีสิบสองเดือน
 เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อพิมพ์แจกสมาชิกหนังสือวชิรญาณ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2431 ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงได้รับเลือกเป็นสภานายกประจำปี พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นวรรณคดีชิ้นเอกเล่มหนึ่งของไทย
เนื้อหาในพระราชนิพนธ์เล่มนี้ว่าด้วยพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งในสมัยโบราณ และในสมัยที่ทรงแต่ง รวมหลายสิบพระราชพิธีด้วยกัน ทรงเล่าถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ด้วยสำนวนภาษาที่ไม่เคร่งครัดอย่างตำรา ในสมัยใหม่อาจเรียกได้ว่าสารคดี
พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นหนังสือที่อ่านได้ไม่ยาก มีรายละเอียดของพระราชพิธีในส่วนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน นอกจากทรงเล่าถึงพระราชพิธีตามตำรับโบราณแล้ว ยังทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างแยบยล
พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นแบบอย่างทั้งการเขียนความเรียง และตำราอ้างอิงที่สำคัญเกี่ยวกับพระราชพิธีของไทย ครั้นเมื่อ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น พระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ได้รับการยกย่อง ว่าเป็น "ยอดของความเรียงอธิบาย" นอกจากนี้ยังได้รับการจัดเป็นหนึ่งใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน

อ้างอิงจาก

อิเหนา || หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน

อิเหนา
ท้าวกะหมังกุหนิงกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อ  วิหยาสะกำ ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ซ่อนรูปวาดบุษบาไว้  เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงรักนางจนคลั่ง   ท้าวกะหมังกุหนิงสืบทราบว่านางคือบุษบา  ธิดาท้าวดาหาที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว   แต่ด้วยความรักและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำแต่เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาเมืองดาหาเพื่อจะชิงตัวบุษบา
ท้าวดาหาส่งพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน (พี่ชาย)  ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี (น้องชาย)  และจรกาให้ยกทัพมาช่วยกันรบป้องกันเมืองดาหา
เมื่อท้าวกุเรปันได้รับข่าวแล้วจึงให้ทหารนำจดหมายไปให้อิเหนาที่อยู่เมืองหมันหยา(เมืองจินตหรา) อิเหนาไม่อยากไปแต่กลัวพ่อโกรธเลยต้องไป  ในที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมากับกะหรัดตะปาตี (พี่ชายคนละแม่)  ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อมั่นว่าอิเหนาต้องรบชนะแต่ด้วยความที่อิเหนาเคยทำให้ท้าวดาหาโกรธเรื่องปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาจนทำให้เกิดเรื่องขึ้นมาอิเหนาจึงตัดสินใจสู้รบให้ชนะก่อนแล้วค่อยเข้าไปเฝ้าท้าวดาหา
ในที่สุดเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาใกล้ดาหาทำให้เกิดการต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา  ในที่สุดสังคามาระตาก็เป็นผู้ฆ่าวิหยาสะกำ  ส่วนอิเหนาเป็นผู้ฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบด้วยกริชเทวา
หลังจากนั้นท้าวปาหยันกับท้าวประหมัน (พี่กับน้องของท้าวกะหมังกุหนิง)   ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออิเหนา   อิเหนาจึงอนุญาตให้ระตูนำพระศพของทั้งสองกลับไปทำพิธีตามพระราชประเพณี

อ้างอิงจาก

นิทานชาดก || หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน


นิทานชาดก
ชาดก คือ เรื่องราว หรือชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็น พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี เพื่อตรัสรู้อยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก
ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก แต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไป คือ ชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีนับพันเรื่อง หมายถึง พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติ โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่า ทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า เวสสันดรชาดก

อ้างอิงจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ชาดก